[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคี รัชมังคลาภิเษก อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
บริการวิชาการ

ช่องทางติดต่อ










กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

เว็บลิงค์




โรงเรียนกลุ่มรัชมังคลาภิเษก

  

นวัตกรรมทางการศึกษา
    เรื่อง : การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนภาพตัวละครจิตรกรรมไทยปู่ม่าน ย่าม่าน

เจ้าของผลงาน : นางสาวศศิประภา สูงขาว
พุธ ที่ 16 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2566
เข้าชม : 54    จำนวนการดาวน์โหลด : 24 ครั้ง
4 stars เฉลี่ย : 4 จาก 1 ครั้ง.

บทคัดย่อ :
แบบเสนอผลงาน/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
 
ชื่อผลงาน การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนภาพตัวละครจิตรกรรมไทยปู่ม่าน
             ย่าม่าน
ชื่อผู้เสนอผลงาน นางสาวศศิประภา สูงขาว
โรงเรียน โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก สังกัด สพม. น่าน
รายละเอียดผลงาน
1. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
ศิลปะเป็นวิชาที่มีความสำคัญต่อผู้เรียนที่มุ่งพัฒนาให้เป็นคนที่สมบูรณ์ มีความสมดุลและร่างกายจิตใจ และสติปัญญา อารมณ์สังคม และมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิด ความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนากระบวนการรับรู้ทางศิลปะ การเห็นภาพรวม การสังเกต รายละเอียดสามารถค้นพบศักยภาพของตนเอง อันเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อหรือ ประกอบอาชีพได้ ด้วยการมีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย สามารถทำงานร่วมกันได้ อย่างมีความสุข การเรียนรู้ศิลปะ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้ความเข้าใจ การคิดที่เป็น เหตุเป็นผลถึงวิธีการทางศิลปะ ความเป็นมาของรูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น และรากฐาน ทางวัฒนธรรม ค้นหาว่าผลงานศิลปะสื่อความหมายกับตนเอง ค้นหาศักยภาพ ความมั่นใจ ส่วนตัว ฝึกการรับรู้ การสังเกตที่ละเอียดอ่อนอันนำไปสู่ความรัก เห็นคุณค่าและเกิดความ ซาบซึ้งในคุณค่าของศิลปะและสิ่งรอบตัว พัฒนาเจตคติ สมาธิ รสนิยมส่วนตัว มีทักษะ กระบวนการ วิธีการแสดงออก การคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้ผู้เรียนตระหนักถึงบทบาท ของศิลปกรรมในสังคม ในบริบทของการสะท้อนวัฒนธรรมทั้งของตนเองและวัฒนธรรมอื่น พิจารณาว่าผู้คนในวัฒนธรรมของตนมีปฏิกิริยาตอบสนองต่องานศิลปะ ช่วยให้มีมุมมอง และเข้าใจ โลกทัศน์กว้างไกล ช่วยเสริมความรู้ ความเข้าใจมโนทัศน์ด้านอื่น ๆ สะท้อนให้ เห็นมุมมองของชีวิตสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และความเชื่อความ ศรัทธาทางศาสนา ด้วยลักษณะธรรมชาติของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ การเรียนรู้ เทคนิค วิธีการทำงาน ตลอดจนเปิดโอกาสให้แสดงออกอย่างอิสระ ทำให้ผู้เรียนได้รับการ ส่งเสริม สนับสนุนให้คิดริเริ่มสร้างสรรค์ ดัดแปลงจินตนาการ มีสุนทรียภาพ และเห็น คุณค่าของศิลปะ วัฒนธรรมไทยและสากล (กรมวิชาการ, 2553, หน้า 1-2) ศิลปะเป็นกิจกรรมการเรียนที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาผู้เรียนในหลายด้าน ช่วยให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการทางศิลปะ ชื่นชมความงาม 2 มีสุนทรียภาพ ความมีคุณค่า ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์ กิจกรรมทางศิลปะยังช่วย พัฒนาผู้เรียน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม ตลอดจนการนำไปสู่การ พัฒนาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสุขและเชื่อมั่นในตนเอง อันเป็นพื้นฐานใน การศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพได้ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2552, หน้า 2-31) จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า วิชาศิลปะมีความสำคัญต่อการเรียนรูอันก่อให้เกิดการพัฒนาตนทางด้านความคิด ทักษะ การวาดภาพมีความสําคัญ อย่างยิ่งในวิชา ศิลปะแต่การสร้างงานศิลปะของนักเรียนในปัจจุบัน พบว่า นักเรียนมีปัญหาด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่เป็นวิถีชีวิตของตนเองไม่ว่าจะเป็นขนบธรรมเนียม ประเพณี ภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่ปฏิบัติมารุ่นสู่รุ่น กลับกลายเป็นลบเลือนหายไป จากประสบการณ์ในการสอนศิลปะทั้งด้านทฤษฏีและปฏิบัติพบว่านักเรียนส่วนใหญ่จะไม่ทราบประวัติภูมิหลังความเป็นมาของตนเองหรือศิลปะที่เกิดขึ้นจากในชุมชนของตัวเอง ไม่สามารถจัดแบ่งประเภททางศิลปะ หรือเขียนภาพตัวละครไทย ทั้งไทยล้านนาที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ทางภาคเหนือและจังหวัดของตนเอง เช่นภาพเขียนสีที่โด่งดัง ภาพ กระซิบรักบันลือโลก "ปู่ม่านย่าม่าน" มงคลล้านนา ณ วัดภูมินทร์ ที่ควรแก่การอนุรักษ์ รักษาไว้ซึ่งความงามนี้ ดังนั้นครูผู้สอนจะต้องหาแนวทางการส่งเสริมต่อยอด ฝึกฝนให้ผู้เรียนมีพื้นฐานการเขียนภาพจิตรกรรมที่มีพื้นฐานลักษณะบุคลิกตัวละครที่มาจากแบบล้านนาดังที่ปรากฏจึงคิดสร้างสรรค์แบบฝึกทักษะการเขียนภาพ ภาพตัวละครจิตรกรรมไทยปู่ม่านย่าม่าน เพราะจะช่วยให้นักเรียนได้ฝึกฝนการวาดภาพอย่างเป็นลำดับ ขั้นตอนที่เหมาะสมและต่อเนื่อง จึงได้พัฒนาแบบฝึกทักษะการวาดภาพโดยการเรียนตาม หลักการของเดวีส์ ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความคิด สร้างสรรค์ ความสุขในการเรียน และความรับผิดชอบ ให้แก่นักเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก ซึ่งมีลักษณะเนื้อหาที่ประกอบด้วยทฤษฎีศิลป์ ภาพตัวอย่าง แบบฝึก ภาคทฤษฎี แบบฝึกปฏิบัติ เพื่อเพิ่มพูนทักษะ และยกระดับความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะให้กับผู้เรียน รวมทั้งช่วยเสริมสร้างศิลปะนิสัยให้แก่นักเรียนจึงได้หาวิธีการและแนวทางแก้ปัญหาที่ เกิดขึ้นต่อไป
2. จุดประสงค์และเป้าหมาย ของการดำเนินงาน
1.เพื่อสร้างละหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการเขียนภาพตัวละครจิตรกรรมไทยปู่ม่านย่าม่าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
          2.  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา น่าน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะพื้นฐาน เรื่อง การเขียนภาพตัวละครจิตรกรรมไทยปู่ม่านย่าม่าน
3. ศึกษาความพึงพอใจในการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาพตัวละครจิตรกรรมไทยปู่ม่านย่าม่าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก
3. กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน
1. วิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้      
          2. ศึกษาแนวคิด / นวัตกรรมในการพัฒนา 
          3. เขียนโครงการวิจัย     
          4. ออกแบบ / สร้างนวัตกรรรม             
          5. สร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล         
          6. ใชันวัตกรรมจัดกระบวนการเรียนรู้                          
7. เก็บรวบรวมข้อมูล                                  
8. เขียนรายงาน
                                     
วิธีการและนวัตกรรมที่ใช้
1.  เครื่องมือในการแก้ปัญหา (นวัตกรรม : แผนการจัดการเรียนรู้ , แบบฝึกทักษะ , เครื่องมือวัดผล , เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ) เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา เป็นเนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ รายวิชาศิลปะไทย (เพิ่มเติม) รหัสวิชา ศ 32223 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551 กระทรวงศึกษาธิการ โดยแบ่งสาระการเรียนรู้ การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนภาพตัวละครจิตรกรรมไทยปู่ม่านย่าม่าน
2.  วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
                2.1  แบบฝึกทักษะ เรื่อง การเขียนภาพตัวละครจิตรกรรมไทยปู่ม่านย่าม่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน
                2.2  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนภาพตัวละครจิตรกรรมไทยปู่ม่านย่าม่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ
                2.3 แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาพตัวละครจิตรกรรมไทยปู่ม่านย่าม่าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก
        3.  วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
              1.  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
4. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
จากผลการดำเนิน มีประเด็นสำคัญที่สามารถนำมาอภิปราย ได้ดังนี้
1.แบบฝึกทักษะ เรื่อง การเขียนภาพตัวละครจิตรกรรมไทยปู่ม่านย่าม่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน จำนวน 6 เรื่องได้แก่
1.การฝึกทักษะการเขียนตัวละคร มือ
2.การฝึกทักษะการเขียนตัวละคร เท้า
3.การฝึกทักษะการเขียนตัวละคร ใบหน้าหญิง
4.การฝึกทักษะการเขียนตัวละคร ใบหน้าชาย
5.การฝึกทักษะการเขียนตัวละคร ปู่ม่านย่าม่าน
6.การฝึกทักษะการเขียนตัวละคร เต็มตัว
นำแบบฝึกทักษะที่ได้ปรับปรุงแก้ไขแล้วพร้อมทั้งแบบประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยสร้างขั้นเสนอผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน เพื่อทำการประเมินแบบฝึกทักษะว่า มีความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เพียงใด โดยผู้วิจัยได้ กำหนดคุณลักษณะของผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบเพื่อหาความตรงและความถูกต้องของแบบฝึกทักษะพบว่ามีค่าดัชนี ความสอดคล้องของความคิดเห็น (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 
2. การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ ผู้วิจัยนำแบบฝึกทักษะ ไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคี รัชมังคลาภิเษก จำนวน 6 คน เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ ตามเกณฑ์ คือ หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ ตามเกณฑ์คือ ค่าประสิทธิภาพ E1 /E2 เท่ากับ 80/80 ซึ่งการหาประสิทธิภาพของบทเรียนเท่ากับ 80.47/81.67
3. นำแบบฝึกทักษะที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง
 
2. ค่าเฉลี่ย  () ร้อยละ (%)  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D.) ของคะแนน ก่อนเรียน ของนักเรียนคิดเป็นร้อยละ 8.70 คะแนนหลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 12.37 แสดงให้เห็นว่า แบบฝึกทักษะการเขียนภาพตัวละครจิตรกรรมไทยปู่ม่านย่าม่าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก ทำให้ผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ย สูงขึ้นจากคะแนนก่อนเรียน ส่งผลให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจในการสร้างสรรค์ผลงานการเขียนภาพจิตรกรรมไทยต่อไป
             ค่าเฉลี่ย  ()  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D.)  ของคะแนน ก่อนและหลังเรียน ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนภาพตัวละครจิตรกรรมไทยปู่ม่านย่าม่าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก
การทดสอบ จำนวนนักเรียน คะแนนเต็ม S.D.
ก่อนเรียน 25 20 8.70 0.60
หลังเรียน 25 20 12.37 1.47
          3. นักเรียนมีความพึงพอใจในการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาพตัวละครจิตรกรรมไทยปู่ม่านย่าม่าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก โดยรวมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.66   ซึ่งมีความพึงพอใจมากที่สุด โดยเรียงลำดับความพึงพอใจดังนี้
ข้อ รายการประเมิน S.D. แปลผล
1 แบบฝึกทักษะมีความหลากหลาย  แปลกใหม่  และน่าสนใจ 4.47 0.63 พึงพอใจมาก
2 แบบฝึกทักษะมีความเหมาะสมกับวัยของนักเรียน 4.77 0.50 พึงพอใจมากที่สุด
3 แบบฝึกทักษะสามารถส่งเสริมทักษะด้านการคิดสร้างสรรค์ 4.50 0.63 พึงพอใจมากที่สุด
4 แบบฝึกทักษะมีประโยชน์ต่อนักเรียน 4.83 0.38 พึงพอใจมากที่สุด
5 เวลาที่ใช้ในการทำแบบฝึกทักษะมีความเหมาะสม 4.40 0.56 พึงพอใจมาก
6 นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น 4.83 0.38 พึงพอใจมากที่สุด
7 นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตนเอง 4.93 0.25 พึงพอใจมากที่สุด
8 นักเรียนได้แบ่งปันและช่วยเหลือเพื่อน 4.70 0.47 พึงพอใจมากที่สุด
9 นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการทำแบบฝึกทักษะ 4.47 0.63 พึงพอใจมาก
10 นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุขสนุกสนาน 4.77 0.43 พึงพอใจมากที่สุด
โดยรวม 4.66 0.13 พึงพอใจมากที่สุด
          
           ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการเขียนภาพตัวละครจิตรกรรมไทยปู่ม่านย่าม่าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก โดยรวมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.66 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.13 ซึ่งมีความพึงพอใจมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า คะแนนสูงสุดอยู่ที่ นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตนเอง มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.93  และคะแนนต่ำสุดอยู่ที่ เวลาที่ใช้แบบฝึกมีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.40 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.56 ซึ่งมีความพึงพอใจมาก
5. ปัจจัยความสำเร็จ
5.1 ผู้อำนวยการโรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก ให้ความสำคัญและสนับสนุนต่อกระบวนการ ในการทำงาน
5.2 นักเรียนให้ความร่วมมือและมีความพร้อมในการร่วมกิจกรรมอย่างเต็มความสามารถ
5.3 ความพร้อมของอุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และสื่อการสอนที่เหมาะสม
5.4 ผู้ปฏิบัติงานมีความพร้อมและความตั้งใจนำประสบการณ์การทำงานมาพัฒนา ปรับปรุงต่อระบบ
การทำงานอย่างต่อเนื่อง
 
6. บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)
6.1.การใช้แบบฝึกทักษะ มีส่วนช่วยให้ผู้เรียนมีความมุ่งมั่นในการฝึกฝน และสามารถเขียนภาพจิตรกรรมน่าน ต่อยอดเป็นชิ้นงานที่เพิ่มมูลค่าคงความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดน่านได้
6.2 การปฏิบัติงานที่เป็นระบบมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน มีการสนับสนุน ส่งผลให้งานบรรลุผล
สำเร็จตามเป้าหมาย
 
 



ดาวน์โหลด  ( บทคัดย่อ) 

นวัตกรรมทางการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ประกอบการสอนภาษาจีนบูรณาการวิถีน่าน ร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ทฤษฎีโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัส NLP เป็นฐานในการจัดการเรียนรู้ 24/ส.ค./2566
      รูปแบบการนิเทศภายในแบบชี้แนะ (Coaching) และการเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring) ร่วมกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) ตามกระบวนการ SMART Steps 17/ส.ค./2566
      รูปแบบการนิเทศภายในแบบชี้แนะ (Coaching) และการเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring) ร่วมกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) ตามกระบวนการ SMART Steps 17/ส.ค./2566
      การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนภาพตัวละครจิตรกรรมไทยปู่ม่าน ย่าม่าน 16/ส.ค./2566
      แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้นิทาน (E-book) 8/ก.พ./2566